ขอขอบคุณท่านผู้เขียนมา ณ.ที่นี้) ยิ่งกว่าปรากฏการณ์! กวาดรางวัลมาทุกเวที!
Nader and Simin: A Separation
เรียกได้ว่า นอนมาจริงๆ สำหรับหนังอิหร่านเรื่องเยี่ยม Nader and Simin: A Separation ซึ่งนอกจากจะกวาดรางวัลมาทุกเวทีของทุกสถาบันในช่วงปลายปีแล้ว ยังติดโผหนังเยี่ยมแห่งปี และเชื่อแน่ว่า จะต้องมีชื่อติดอยู่ในกลุ่มหนัง 5 เรื่องของสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศบนเวทีออสการ์แบบไม่น่าจะพลิกความคาดหมาย
Nader and Simin: A Separation ผลงานของผู้กำกับ อาสกะฮาร์ ฟาร์ฮาดี ซึ่งเมื่อตอนต้นปีก็สามารถคว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองเบอร์ลินมาได้สำเร็จท่ามกลางเสียงปรบมืออย่างกึกก้อง หลังจากนั้นก็ตระเวนกวาดคำชื่นชมจากนักวิจารณ์และนักดูหนังทั่วโลก
Nader and Simin: A Separation ติดอันดับหนังเยี่ยมแห่งปีจากการรวบรวมผลโหวตของนักเขียน นักวิจารณ์และนักวิชาการทางภาพยนตร์ ทั้งจากนิตยสาร Sight and Sound ของอังกฤษ และนิตยสาร Film Comment ของฝั่งอเมริกา
&id=121:2011-12-09-06-14-44&catid=35:news.. ขอขอบคุณท่านผู้เขียนมา ณ.ที่นี้) ครั้งแรกในประวัติศาสตร์เทศกาลหนังเมืองเบอร์ลิน .
Nader and Simin: A Separation
Nader and Simin: A Separation ได้สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นแล้ว บนเวทีประกาศรางวัลของเทศกาลหนังเมืองเบอร์ลินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยการคว้า 3 รางวัลใหญ่ของเทศกาล ซึ่งไม่เคยมีหนังเรื่องใดทำได้มาก่อน นอกจากนั้นยังคว้ารางวัล Prize of the Ecumenical Jury ซึ่งเป็นรางวัลเพื่อสันติภาพทางศาสนามาได้อีก 1 รางวัล และรางวัลขวัญใจมหาชนที่โหวตโดยหนังสือพิมพ์ Berliner Morgenpost หนังสือพิมพ์ประจำเทศกาลหนังเมืองเบอร์ลิน
Nader and Simin: A Separation เป็นหนังอิหร่านโดยฝีมือของผู้กำกับ อัสกะฮาร์ ฟาร์ฮาดี เล่าเรื่องเหตุการณ์ร่วมสมัยของชนชั้นกลางในกรุงเตหะราน หลังจากการออกฉายรอบแรก พร้อมกับเสียงปรบมือกึกก้อง อีกทั้งบทวิจารณ์จากสื่อก็มีแต่เสียงชื่นชม เมื่อถึงวันงานประกาศรางวัล Nader and Simin: A Separation ก็กลายเป็นตัวเต็งของงานไปโดยปริยาย และก็ไปเป็นตามคาดหมาย รางวัลหมีทองคำ (Golden Berlin Bear) รางวัลใหญ่ที่สุดของเทศกาลก็ตกเป็นของหนังอิหร่านคุณภาพเยี่ยมเรื่องนี้
แต่ที่เซอร์ไพรส์มากกว่านั้น รางวัลหมีเงินที่มอบให้แก่สาขานักแสดง ทีมนักแสดงนำชาย และทีมนักแสดงของ Nader and Simin: A Separation ก็คว้าไปทั้ง 2 รางวัน โดยไม่เผื่อแผ่รางวัลให้ใคร
แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาวงการหนังอิหร่านก็กู้ชื่อได้อีกครั้ง เมื่อหนังอิหร่านพันธุ์แท้อย่าง Nader and Simin: a Separation ของ อัสการ์ ฟาร์ฮาดี คว้ารางวัลใหญ่อย่างหมีทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเบอร์ลินได้ด้วยเสียงตอบรับที่แทบเป็นเอกฉันท์ ป่าวประกาศให้โลกรู้ว่าหนังอิหร่านก็ยังมีอะไรน่าสนใจอยู่เหมือนกัน แม้จะไม่ล้นหลามจนตามดูไม่ทันเหมือนในวันก่อน ๆ
Nader and Simin: a Separation เป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องที่ห้า ของ อัสการ์ ฟาร์ฮาดี โดยก่อนหน้านี้เขาเคยมีภาพยนตร์เรื่อง About Elly (2009) เข้าร่วมประกวดและคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองเบอร์ลินมาก่อนแล้ว
แต่ถึงแม้ว่าตัวบทหนังจะมีรายละเอียดที่อุตลุดสลับซับซ้อนซ่อนนัยกันขนาดไหน ฟาร์ฮาดีก็ยังสามารถแจกแจงเรื่องราวทั้งหมดออกมาได้ในระดับกระจ่างแจ้ง ชนิดไม่ต้องออกแรงนั่งขบคิดตีความก็ยังสามารถติดตามความเป็นไปทั้งหมดได้ ชวนให้นึกไปถึงผลงานน่าทึ่งในอดีตอย่าง Once Upon a Time, Cinema (1992) The Actor (1993) Salaam, Cinema (1995) หรือ A Moment of Innocence (1996) ของ โมห์เซ็น มัคมาลบาฟ ที่สามารถเล่าเรื่องซ้อนทับมิติจริงลวงในโลกของหนังกับชีวิตประจำวันอันสุดยุ่งเหยิงให้ออกมาเป็นงานที่เข้าถึงง่าย สะท้อนฝีไม้ลายมือของการเป็น ‘นักเล่าเรื่อง’ ที่ดีผิดกับวิถีของการดัดจริตทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากอย่างที่ผู้กำกับตระกูล ‘แอ็คอาร์ท’ ทั้งหลายมักจะชอบทำกัน
อย่างไรก็ดีนอกจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในระดับรูปธรรมแล้ว ใน Nader and Simin, a Separation ยังมีเนื้อหาในส่วนนามธรรมโดยเฉพาะความรู้สึกภายในของตัวละครที่ซับซ้อนโยงใยไม่แพ้ในส่วนสถานการณ์เลย ฟาร์ฮาดี ระบายสีสันให้ตัวละครทุก ๆ รายในหนังของเขาได้อย่างมีชีวิตทั้งยังคิดอ่านและตัดสินใจทำอะไร ๆ ด้วยวิสัยของผู้คนที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง
A married couple are faced with a difficult decision, to improve the life of their child by moving to another country or to stay in Iran and look after a deteriorating parent who has Alzheimers.
Nader (''Peyman Moaadi'' )and Simin (Leila Hatami) argue about living abroad. Simin prefers to live abroad to provide better opportunities for their only daughter, Termeh. However, Nader refuses to go because he thinks he must stay in Iran and take care of his father (Ali-Asghar Shahbazi), who suffers from Alzheimers. However, Simin is determined to get a divorce and leave the country with her daughter. Written by Amin Davoodi
User Reviews
unsaid words can turn into a separation
25 March 2011 | by mrbarooee (Iran)
It seems that a court room drama could be the best place for Frahadi to recreate his very own world and confront us with a short and somehow faraway situations and incidents in life. We think these kinds of happenings and conflicts would not take place in our lives but with his realistic world and characters they seem so close and possible to anyone. Asghar Farhadi loves to put his audience in place of judge, as his other pictures like About Eli or Fireworks Wednesday and here with no fear he takes us straight to a court room. But the thing is that the judge does not provide any help for us to make a clear judgment and surprisingly makes the situation even more complicated. Yes Farhadi doesn''t want us to make a judgment, He makes us watch and observe and leave the theater with a big fork in front of us.It Seems that any single decision creates another world full of forks and not taken ways.
when nobody is clearly guilty and the line between black and white is so dim. And again here we are in Frhadi''s powerful hands surprised to the end of the movie. You can''t leave your chair even for one second because the story never lets you to lose even a single moment. And like a tennis ball we''re always being shot from this side to the other. And finally we are the daughter shocked and disable to make a decision. May be we haven''t seen or we don''t want to see this side of life, where nothing is clear, when small lies and unimportant undone things and unsaid words gang up against us and turn to a big disaster. Frahadi has found his own world and his own language and his own version of life. Something we''d never seen before. We appreciate that. He can easily bombard us with information and surprise us with tiny details that seem nothing but like a snowball rolling down a slope they can form a big drama.