
Gohatto (1999)
(บรรยายไทย)
กำกับ:Nagisa Oshima สร้าง:Masayuki Motomochi เขียนบท:Nagisa Ōshima, Ryotaro Shiba
บทประพันธ์: ดนตรี:Ryuichi Sakamoto ถ่ายภาพ:Toyomichi Kurita ตัดต่อ:Tomoyo Oshima เวลา:100 minutes ประเทศ:France | UK | Japan ภาษา:Japanese แนว:Drama | History
Subtitle: English/ไทย นักแสดง: Ryuhei Matsuda, Takeshi Kitano, Tadanobu Asano, Shinji Takeda
หนังเกย์ที่เข้าชิงปาร์มทองจากคานน์ ปี2000 ผลงานของผู้กำกับสุดฉาวจาก In the Realm of Senses และเคยคว้ารางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเมืองคานส์ มาแล้วจาก Empire of Passion และนี่คือหนังเกย์ที่ระดมดาราดังๆ ทั้ง บีต ทาเคชิ, ริวเฮ มัตสึดะ, ชินจิ ทาเคดะ และ ทาดาโนบุ อาซาโนะ
(บทความนี้ตัดมาจาก http://www.geocities.com/fansfilm/gohatto01.html)
GOHATTO รักน้อง…ต้องห้าม
สำหรับผู้อ่านที่คุ้นเคยหรือสนใจภาพยนตร์ญี่ปุ่น คงจะเคยได้ยินชื่อเสีย(ง)ของ นากิสะ โอชิมา มาบ้างพอสมควร โอชิมาถือเป็นผู้กำกับหัวหอกของกระแสคลื่นลูกใหม่ในยุค 60 ( เพื่อนร่วมรุ่น ก็ได้แก่ มาซาฮิโร ชิโนดะ และ โชเฮอิ อิมามุระ ) เขาทั้งเกรี้ยวกราด ดื้อรั้น และค่อนข้างอวดดี ลักษณะบุคลิกส่วนตัวที่กล่าวมาปรากฏรูปรอยอยู่ในหนังของเขามาโดยตลอด เขาเริ่มทำงานใน วงการภาพยนตร์หลังจากที่เคยเป็นแนวร่วมในการประท้วงรัฐบาล โอชิมาเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงของ โชชิกุสตูดิโอ ที่นี่ให้โอกาสเขาสร้างงานในยุคแรกๆ(ปลายยุค 50 ) แต่ด้วยความเลือดร้อน ซึ่งเป็นพื้นเสียของเขาเองทำให้เกิดการแตกหัก โอชิมาออกมาตั้งทีมสร้างเองกับเพื่อนๆ ในที่สุดและตัดขาดกับโชชิกุสตูดิโอนับแต่นั้น โอชิมาไม่ได้เป็นนักมนุษย์นิยมที่ชัดเจนเหมือน อากิระ คุโรซาวา ไม่แม้แต่จะมองเห็นแง่งาม ของการอยู่ร่วมกันอย่างงานของ ยาสึจิโร โอสุ ผู้กำกับชั้นครูในชาติเดียวกัน งานของโอชิมาใน ยุคแรกๆ เป็นงานที่มองโลกและสังคมในแง่ร้าย วิพากษ์ลัทธิวัตถุนิยมของสังคมญี่ปุ่น หลัง สงครามโลกครั้งที่สองอย่างตรงไปตรงมาใน Naked Youth ( 1960 ) โอชิมาก็สร้างตัว ละครเอกให้เป็นขบถสังคมอย่างชัดเจนและเกือบจะหาดีอะไรไม่เจอ หนังนำเสนอประเด็นที่ล่อแหลมต่อศิลธรรมมากมาย ทั้งเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน การก่ออาชญากรรม แต่ Naked Youth ก็เป็นแค่ตัวอย่างงานเบาๆ ไปถนัดตา เมื่อเทียบกับงานที่โด่งดังที่สุดของเขา In the Realm of Senses ( 1976 ) โอชิมาตีแผ่เนื้อแท้อันแหลกเหลวของชิวิตมนุษย์ออกมาได้น่าสลดหดหู่เขาเลือกวิธีการนำเสนอ ฉากรักที่โจ่งแจ้ง เหมือนจริง หนังจึงทั้งดุดันและหม่นเศร้า แต่ที่เป็นเรื่องราวใหญ่โตคือ การที่ญี่ปุ่นไม่ยอมให้หนังเรื่องนี้เข้าฉายในประเทศ และชื่อของโอชิมาก็อยู่ใน บัญชีดำของบรรดานักอนุรักษ์นิยมนับแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากที่รู้ว่าไม่สามารถสร้างงานอย่างอิรสะเสรีในบ้านเกิดของตนเองได้ โอชิมาย้ายไปอยู่ทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษ หาทุนทำหนังและสารคดีอยู่เรื่อยๆ กาลเวลาขัดเกลาให้เขาโอนอ่อนและประนีประนอมขึ้น อย่างงาน Max,Mon Amour (1986 ) ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักระหว่างหญิงสาวกับ ลิงร่างยักษ์ ก็ทำให้นักวิจารณ์ประหลาดใจไม่น้อย ว่าคนที่มีภาพลักษณ์ดิบเถื่อนอย่างโอชิมาสามารถเล่าเรื่องที่นุ่มนวลอย่างคนอื่นเขาได้เหมือนกันเนื่องจากสุขภาพไม่เอื้ออำนวย หลายปีมานี้โอชิมาทำหนังน้อยลง หันมาทำงานค้นคว้า และงานสารคดีทางโทรทัศน์ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม โอชิมาในวัย 68 ที่ต้องนั่งรถเข็นก็ยังได้ผลิตงานออกมา และได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ทั่วโลก ( หนังได้เข้าชิงรางวัล ผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังเมืองคานส์) ที่สำคัญหนังเรื่องนี้ยัง เป็นการกลับมาทำงานร่วม กับโชชิกุสตูดิโอที่เปรียบเสมือนบ้านเกิดอีกครั้ง หนังเรื่องนั้นคือ Gohatto

Gohatto แปลเป็นภาษาไทยว่า ข้อห้าม โอชิมาดัดแปลงจากนิยายของ เรียวทาโร ชิบะ เรื่องราวย้อนกลับไปในเมืองเกียวโต ปี 1865 เมื่อสำนักซามูไรชินเซนกูมิอันเลื่องชื่อรับ ซามูไรใหม่ 2 นายเข้ามาร่วมสำนัก ชื่อว่าคาโนะ และ ตาชิโร ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อรูปโฉมของ คาโนะนั้นเป็นที่ ต้องตาต้องใจซามูไรหลายคนที่นิยนชมชอบไม้ป่าเดียวกัน นับตั้งแต่เด็กใหม่ ด้วยกันอย่างตาชิโร, หัวหน้าหน่วยหรือกระทั่งเจ้าสำนักเองก็ทอดสายตาชมชอบคาโนะอย่าง เห็นได้ชัด …หนังเกือบ ทั้งเรื่องถ่ายทอดในสตูดิโอ ฉากบางฉากจึงไม่สมจริงสมจังมากนัก
แต่โอชิมาก็กลับสร้างบรรยากาศด้วยการจัดแสงและสี ให้ออกมาตามอารมณ์ของเหตุการณ์ได้อย่างสมบูรณ์ นักวิจารณ์หลายคนเห็นว่าเป็นจุดด่างพร้อย เล็กๆ ของหนัง เพราะในขนาดที่โอชิมาให้ความสำคัญเรื่องระดับความ''''จริง''''ในหนังของตัวเองมาตลอด แต่ครั้งนี้กลับใช้บรรยากาศเป็นเครื่องทุ่นแรง บางคนค่อนขอด อย่างติดตลกว่า โอชิมาไม่ใช้คนแรงเหลืออีกต่อไป เขากลายเป็นชายชราที่อ่อนและเชื่องแล้ว แต่ผมกลับชมชอบการนำเสนอวิธีนี้ และไม่คิดว่าโอชิมาจะเชื่องหรือสลัดทิ้งอุดมคติเดิมๆ มันก็คงคล้ายๆกับ ผู้กำกับหลายคนที่พออายุมากขึ้นก็เกิดการ ขัดเกลา เข้าหาอะไรที่ง่ายๆ และสุขุมมากขึ้น หนังอย่าง Madadayoหนังเรื่องสุดท้ายของ อากิระ คุโรซาวา หรือที่ชัดกว่าอย่าง Pecker ของจอห์น วอเตอร์ส เป็นตัวอย่างในลักษณะเดียวกัน คือ ไม่แสดงความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่อีกแล้วแต่มันก็มีความกลมกล่อมในแบบที่ควรจะเป็น
  
Taboo (Gohatto) (1999) is a Japanese film directed by Nagisa Ōshima. It shows life in a samurai training school during the bakumatsu period, the end of the samurai era in the mid-19th century, specifically concentrating on the issue of homosexuality in the shudō tradition in the partially-closed environment.
At the start of the movie, the young and handsome Sozaburo Kano is admitted to the Shinsengumi an elite samurai police group led by Isami Kondo that seeks to defend the shogunate against reformist forces. He is a very skilled swordsman, but it is his appearance that makes many of the others in the (strictly male) group, both students and superiors, attracted to him, creating tension within the group of people vying for Kano''s attention.
  
รางวัล
|