|
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
 |
 |
 |
The Wind That Shakes
the Barley (2006)
(บรรยายไทย) |
|
|
 |
|
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
 |
Director:Ken
Loach Producer:Rebecca
O''Brien Screenplay by:Paul
Laverty Music by:George
Fenton
Cinematography:Barry
Ackroyd
Edited by:Jonathan
Morris
Running time:126
min Country:United
Kingdom, Ireland Language:English,
Irish, Latin
Genre:Drama,
War
Subtitle:English
ไทย Starring:
Cillian
Murphy Damien O''Donovan,
Pádraic Delaney Teddy O''Donovan,
Liam Cunningham Dan,
Orla Fitzgerald Sinéad Ní Shúilleabháin,
Laurence Barry Micheál Ó Súilleabháin,
Mary Murphy Bernadette
Mary O''Riordan Peggy
Myles Horgan Rory Martin Lucey
Congo Roger Allam Sir John
Hamilton John Crean Chris
Reilly Damien Kearney Finbar
Frank Bourke Leo Shane Casey
Kevin Máirtín de Cógáin Sean
William Ruane Johnny Gogan
Fiona Lawton Lily Sean McGinley
Father Denis Kevin O''Brien
Tim |
|
(บทความนี้ตัดมาจาก..http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mrpostcard&month=30-05-2013&group=1&gblog=21..
ขอขอบคุณท่านผู้เขียนมา
ณ.ที่นี้)
The Wind That Shakes The Barley : สายลมคลั่ง
ที่สะเทือนสั่นท้องทุ่งไอริช
นี่คือหนังกึ่ง สงคราม-ดราม่า
ที่ก่อให้เกิดผลสะเทือนเลื่อนลั่นอย่างมหาศาล
โดยเฉพาะกับชนชาติคู่ขัดแย้งระหว่าง ชาวอังกฤษ และ
ไอริช เพราะหนังเรื่องนี้
ได้มุ่งถ่ายทอดเนื้อหาว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างคน
2 ชาติ แต่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมายก็คือ ''The
Wind That Shakes The Barley''
พยายามจะบอกเล่า
ตีแผ่ข้อเท็จจริงที่ประวัติศาสตร์กระแสหลักไม่เคยเอ่ยถึง
ซึ่งเป็นภาพลบของประเทศมหาอำนาจอย่าง อังกฤษ
ที่เคยกระทำต่อ ประเทศไอร์แลนด์
อย่างสุดเลวร้ายอัปลักษณ์ !
ประเด็นอื้อฉาวที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมมาจากตัวผู้กำกับหนัง
ที่มีนามว่า ''เคน โลช''
ผู้มีสายเลือดเป็นชาวเมืองผู้ดี อังกฤษแท้ๆ
แต่กลับหาญกล้า
สร้างวีรกรรมแบบนอกคอกด้วยการสร้างหนังตีแผ่ความเลวร้ายในอดีตของชนชาติตัวเอง
ที่เกิดขึ้นราว 90 ปีที่ผ่านมา จน หนังของเขา
กวาดรางวัลจากเวทีประกวดเมืองคานส์
อย่างหักปากกานักวิจารณ์ทั้งหลายมาแล้ว (The Wind
That Shakes The Barley คว้ารางวัล Palme d'' or
ในปี 2006) คนอังกฤษจำนวนมาก ที่มีจิตใจคับแคบ
และไม่ยอมรับความจริง จึงพากันสาปส่ง รุมประณาม
''โลช'' ถึงขั้นตราหน้าเขาว่าเป็น ''คนขายชาติ''
และขับไล่ให้เขาไปอยู่ ไอร์แลนด์
เสียรู้แล้วรู้รอด แต่ในมุมกลับ
ประเด็นอื้อฉาวนี้ย่อมส่งผลต่อตัวหนัง
ให้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นไปโดยปริยาย..
The Wind That Shakes The Barley
มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับขบวนการ IRA (Irish
Republican Army) หรือ
''ขบวนการกองทัพสาธารณรัฐไอริช'' ซึ่งจะว่าไปแล้ว
เราจะเรียกขานพวกเขาให้เป็น
''ตำนานแห่งขบวนการก่อการร้าย'' ก็คงไม่ผิดนัก
แต่หากเราได้ลองพิจารณาจากมูลเหตุบีบบังคับที่ทำให้พวกเขาต้องก่อความรุนแรงแล้ว
เราก็ย่อมเข้าใจถึงจิตใจของ ชาวไอริช
กลุ่มนี้ได้..
ทุกวันนี้ เราคงคุ้นเคยชื่อของ ฮามาส , เจไอ , อัล
กอฮ์อิดะ , กบฏลัทธิเหมา หรือ พยัคฆ์ทมิฬอีแลมป์
กันดี ความจริงแล้ว ขบวนการก่อการร้าย
นั้นปรากฏตัวขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลกมานานแล้ว
แม้แต่ในประเทศที่เจริญอย่างในยุโรป
ก็ยังมีกลุ่มก้อนขบวนการติดอาวุธเหล่านี้
ซึ่งพวกเขาหาได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด
บางกลุ่มก็มีอุดมการณ์สูงส่ง
แต่บางกลุ่มก็อาศัยอุดมกู เป็นหลัก..
สำหรับชื่อของ IRA นั้นได้สร้างกิตติศัพท์
ให้โลกรับรู้มานานแล้ว
และเรื่องราวการเคลื่อนไหวของพวกเขา
ก็ไปโลดแล่นอยู่ในภาพยนตร์แนวการเมืองมามากมาย
ขบวนการ IRA นั้นมีปณิธานที่จะไปให้ถึงคือ
การปลดปล่อย ''ไอร์แลนด์''
แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของตน
ให้หลุดพ้นจากการปกครองของอังกฤษ ที่ชาติพันธุ์ตน
ต้องตกเป็นอาณานิคมมานานกว่า 700 ปี
ซึ่งเหล่าผู้รักชาติชาวไอริชได้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้รัฐบาลอังกฤษมาโดยตลอดทั้งที่แผ่นดินทั้ง 2
ก็อยู่ห่างกันแค่เอื้อม
เมื่อรัฐบาลอังกฤษ ได้ให้สัญญาจากลมปากเหม็นๆ
ต่อกลุ่มอาสาสมัครไอริช ว่าจะให้ ไอร์แลนด์
ได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จบสิ้นลง อังกฤษ
ก็เบี้ยว ไม่คืนเอกราชให้เสียดื้อๆ เมื่อชาวไอริช
ไม่ได้รับเอกราชตามที่ อังกฤษ สัญญาไว้ ในปี
ค.ศ.1916
พวกเขาจึงจำต้องเปลี่ยนยุทธวิธีด้วยการใช้ความรุนแรงแบบ
''กองโจร'' เข้าต่อสู้ ด้วยการตั้งขบวนการ IRA
ขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ ในทุกรูปแบบ
ทั้งการทำสงครามแบบกองโจร
ก่อกวนด้วยการก่อวินาศกรรม
ลอบสังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอังกฤษ ซึ่ง
วีรบุรุษชาวไอริช
ที่มีบทบาทอย่างสูงผู้หนึ่งก็คือชายที่ชื่อ
''ไมเคิล คอลลินส์'' นั่นเอง
พวกเขาเริ่มต้นจากกองกำลังเล็กๆ
ด้วยกลุ่มอาสาสมัครไอริช
ที่รวมตัวกันแบบกึ่งกองทัพ
ด้วยการเรียกร้องโดยตรงต่อรัฐบาลอังกฤษ
ในเรื่องการตั้งประเทศอิสระ
ทำสงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ท่ามกลาง
เหยื่อแห่งสงครามชาวไอริช ซึ่งเป็นสามัญชนคนธรรมดา
ทั้งเด็ก ผู้หญิง คนชรา ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ที่ต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ชาวไอริช
ที่มารวมตัวกันเป็น ขบวนการ IRA
นั้นมาจากคนทุกระดับชั้น แต่มีอุดมการณ์ รักชาติ
เป็นจุดร่วมเดียว
ทั้งคนหนุ่มวัยฉกรรจ์จากกรรมกรในโรงงาน คนยากจน
ชาวไร่ในท้องทุ่งชนบท ซึ่งใน The Wind
ที่เรื่องราวดำเนินไปในปี ค.ศ.1920 นั้น
อันเป็นปีที่สงครามกลางเมืองในไอร์แลนด์
ก่อตัวขึ้น ตัวเอกสองศรีพี่น้องในเรื่อง
ก็มาจากชนชั้นชาวไร่ชาวนานั่นเอง
การเคลื่อนไหวของพวกเขา จึงอยู่ตามเขตชนบทเป็นหลัก
ซึ่งแม้ว่า The Wind
จะเป็นหนังที่มีสาระทางการเมืองที่ค่อนข้างหนักหนา
แต่คนดูก็ได้รับการผ่อนคลายจากฉากที่งดงามของ
ท้องทุ่งเขียวขจีในไอร์แลนด์
แถมเสื้อผ้าของชาวไร่ไอริช เมื่อ 90 ปีที่แล้ว
ก็ยังดูเท่ห์ ไม่หยอกอีกด้วย..
ตัวละครหลักที่มีบทบาทอย่างสูงในเรื่องคือ
''เดเมียน'' (คิลเลี่ยน เมอร์ฟีย์) ผู้พี่
ที่มีอาชีพเป็นหมอ
ซึ่งกำลังจะไปรับหน้าที่นี้ที่กรุงลอนดอน
ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ซึ่งดูเหมือนว่าอนาคตในวิชาชีพของเขา
จะก้าวหน้ากว่าคนในชุมชนเดียวกันมากนัก ในขณะที่
''เทดดี้'' (เลียม คันนิ่งแฮม) ผู้น้อง
และพรรคพวกเพื่อนฝูงของเขา กำลังทำงานเพื่อชาติ
ด้วยการต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ ที่ได้ส่งหน่วย Black
and Tan มาระงับเหตุรุนแรงด้วยความรุนแรงโดยเฉพาะ
เพื่อคัดค้านการยื่นคำร้องขออิสรภาพของ
ชาวไอริชที่รวมตัวเป็นกลุ่มกองกำลังอาสาสมัครร่วมกับ
IRA
สำหรับ เดเมียน
เขาได้ตัดสินใจหันหลังให้กับอาชีพหมอ
เพราะได้เห็นความโหดร้ายป่าเถื่อน
ที่กองกำลังอังกฤษกระทำย่ำยีกับพี่น้องร่วมชาติของเขา
เริ่มตั้งแต่การออกกฎควบคุมห้ามชาวไอริชนัดชุมนุม
ห้ามพูดจาสื่อสารกันด้วยภาษาไอริช
และตามล่าสังหารกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลอย่างเปิดเผย
การกระทำกดขี่ต่างๆ เหล่านี้เองที่ทำให้ เดเมียน
ตัดสินใจได้ไม่ยากในการเข้าร่วมขบวนการ IRA
อย่างแน่วแน่
ซึ่งหากเราดูหนังด้วยใจที่เป็นกลาง
โดยไม่เข้าข้างชาติหนึ่งชาติใดแล้ว
การกระทำของฝ่ายอังกฤษนั้นก็ดูจะเกินเลยไปมาก
และยากที่จะยอมรับ
จนทำให้เราอดที่จะรู้สึกคับแค้นใจไปไม่ได้เช่นกัน
ฉะนั้นหากเราจะตราหน้า IRA ขบวนการรักชาติไอริช
ว่าเป็น กลุ่มก่อการร้าย
นั่นก็คงไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก
เพราะหากเราอ้างข้อกฎหมายว่าเป็นสิ่งถูกต้องเที่ยงธรรม
ว่า อังกฤษ มีกองทัพที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่การกระทำของชาวไอริช
ก็เกิดจากอุดมการณ์รักชาติเป็นที่ตั้ง
เมื่อถูกคนชาติอื่นมารุกราน ข่มเหงน้ำใจ
เราเองก็อดที่จะเอาใจช่วยคนไอริชไม่ได้
ไม่ต่างจากกรณีเมื่อครั้งที่เราได้ชมหนังมหากาพย์สงคราม
''Braveheart'' ของ ''เมล กิ๊บสัน''
ถึงแม้จะเป็นคนละยุคสมัย แต่ภาพความรุนแรงที่
อังกฤษ กระทำต่อชาวสก๊อตแลนด์นั้น
ก็หาได้แตกต่างอะไรกับใน The Wind
ที่ชาวไอริชถูกกระทำอย่างรุนแรงเช่นกัน..
(บทความนี้ตัดมาจาก..https://konmongnangetc.com/2016/05/24/ศัตรู-อันเป็นอนันต์/
..ขอขอบคุณท่านผู้เขียนมา
ณ.ที่นี้)
คนมองหนัง ศัตรู อันเป็นอนันต์
Posted on May 24 by konmongnangetc
ปรับปรุงจากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ 3-9
กุมภาพันธ์ 2555
The Wind that Shakes the Barley กำกับโดย เคน
โลช เป็นหนังรางวัลปาล์มทองคำประจำปี 2006
จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ซึ่งเข้าฉายในเมืองไทยช่วงปลายเดือนสิงหาคม
พ.ศ.2549 ก่อนหน้ารัฐประหาร 19 กันยาฯ ราว 3
สัปดาห์
หนังเล่าเรื่องราวของ เท็ดดี้-เดเมี่ยน
โอซุลลิแวน สองพี่น้องชาวไอริช
ที่ต่อสู้เรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่
20
ศัตรูแรกเริ่ม ของเท็ดดี้และเดเมี่ยน คือ
ทหารอังกฤษ
ซึ่งมีพฤติกรรมกดขี่ข่มเหงรังแกคนเล็กคนน้อยในไอร์แลนด์
จาก ผู้หญิง ถึง คนแก่ จาก เด็กหนุ่ม ถึง
พนักงานการรถไฟ เช่น มิฮอย เด็กหนุ่มวัย 17
ผู้ไม่ยอมเรียกชื่อตนเองเป็นภาษาอังกฤษ
ที่ถึงกับถูกทหารของเจ้าอาณานิคมรุมซ้อมจนตายต่อหน้าครอบครัว
ที่สุด
เท็ดดี้กับเดเมี่ยนจึงตัดสินใจจับปืนสู้รบกับอังกฤษ
โดยพี่ชายมีลักษณะเป็นขาบู๊นักรบ
ขณะที่น้องชายซึ่งเป็นหมอมีลักษณะของปัญญาชนผู้เห็นใจคนตกทุกข์ได้ยาก
ความเปลี่ยนแปลง
ในวิถีความคิดและตัวตนของสองพี่น้อง
เกิดขึ้นพร้อมกันกับสนธิสัญญาสงบศึกระหว่างสหราชอาณาจักรกับไอร์แลนด์
อย่างไรก็ตาม ชาวไอริชยังไม่ได้รับเอกราช
เพราะสนธิสัญญาดังกล่าวระบุให้ไอร์แลนด์มีสถานะเป็นรัฐอิสระอยู่ในสหราชอาณาจักร
และต้องภักดีต่อราชวงศ์อังกฤษ
หลังผู้นำสองฝ่ายลงนามในสนธิสัญญา
เท็ดดี้ผู้เคยฮาร์ดคอร์
ได้กลับกลายเป็นนักการเมืองที่เลือกประนีประนอมกับอังกฤษ
ผิดกับเดเมี่ยนที่ตัดสินใจไม่ประนีประนอม
ด้วยความเชื่อว่าหากยินยอมให้การต่อสู้ยุติลงด้วยสนธิสัญญาฉบับนี้
อังกฤษก็จะยังคงมีอำนาจครอบงำเหนือไอร์แลนด์
โดยใช้ชนชั้นนำ-คนรวยชาวไอริช
ซึ่งได้รับประโยชน์จากการยอมประนีประนอม
มาแสดงบทบาทเป็น รัฐบาลหุ่น
ส่วนชาวไอริชที่ทุกข์ยากอับจนก็คงต้องลำบากลำบนต่อไป
เดเมี่ยนจึงต้องรบกับเท็ดดี้
เมื่อ ศัตรู ได้เปลี่ยนรูปจาก ทหารอังกฤษ
มาเป็น คนไอริช ด้วยกันเอง
เรื่องเล่าใน The Wind that Shakes the Barley
อาจพูดถึง ศัตรู ของ ชาติ
ที่เปลี่ยนรูปแปลงร่างไป จาก ศัตรูภายนอก สู่
ศัตรูภายใน แต่ ศัตรู ก็ยังคงเป็น ศัตรู
ที่ต้องดำรงอยู่เสมอไม่เคยขาดตอน ราวกับ ชาติ
ต้องการ ศัตรู ตลอดเวลา ประวัติศาสตร์ว่าด้วย ชาติ และ ศัตรูของชาติ
จึงเดินทางเป็น วงกลม เฉกเช่นชะตากรรมของหลากหลายตัวละครในหนังเรื่องนี้
หลายครั้ง
เราต้องอาศัยระยะเวลายาวนานในการเฝ้ารอให้ วงจร
ดังกล่าวถูก ตัดขาด
เพื่อนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
ทว่า หลายครา
การเดินทางมาถึงของอิสรภาพก็ยาวนานเกินกว่าที่ผู้ต่อสู้เพื่อมันเคยคาดหวังเอาไว้
และระหว่างทาง เรา อาจต้อง ทำร้าย
กันเองครั้งแล้วครั้งเล่า
หนังตัวอย่าง:
(คลิกที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่
สกอเมาส์หรือกดปุ่มคีบอร์ดลูกศรเพื่อดูรูปต่อไป)
|
 |

รางวัล:6
wins & 23 nominations.
|
British Independent Film Awards 2006
Cannes Film Festival 2006
Cinemanila International Film Festival 2006
Nominated
Lino Brocka Award |
International Competition
Ken Loach |
Dublin Film Critics Circle Awards 2006
European Film Awards 2006
Goya Awards 2007
Nominated
Goya |
Best European Film (Mejor Película
Europea)
Ken Loach |
Irish Film and Television Awards 2007
Italian National Syndicate of Film
Journalists 2007
Nominated
Silver Ribbon |
Best European Director (Regista del
Miglior Film Europeo)
Ken Loach |
London Critics Circle Film Awards 2007
Nominated
ALFS Award |
British Film of the Year |
British Director of the Year
Ken Loach |
British Producer of the Year
Rebecca O''Brien |
Polish Film Awards 2007
Nominated
Eagle |
Best European Film (Najlepszy Film
Europejski)
Ken Loach
Germany/Italy/Spain/France/Ireland/UK.
|
Satellite Awards 2006
Nominated
Satellite Award |
Best Screenplay, Original
Paul Laverty |
Writers'' Guild of Great Britain 2007
Nominated
Writers'' Guild of Great Britain
Award |
Film - Screenplay
Paul Laverty |
|
|
The Wind That Shakes the Barley is a 2006 war drama
film directed by Ken Loach, set during the Irish War
of Independence (19191921) and the Irish Civil War
(19221923). Written by long-time Loach collaborator
Paul Laverty, this drama tells the fictional story
of two County Cork brothers, Damien O''Donovan
(Cillian Murphy) and Teddy O''Donovan (Pádraic
Delaney), who join the Irish Republican Army to
fight for Irish independence from the United
Kingdom. The film takes its title from the Robert
Dwyer Joyce''s "The Wind That Shakes the Barley", a
song set during the 1798 rebellion in Ireland and
featured early in the film. The film is heavily
influenced by Walter Macken''s 1964 novel The
Scorching Wind.
Widely praised, the film won the Palme d''Or at the
2006 Cannes Film Festival.[4] Loach''s biggest box
office success to date, the film did well around the
world and set a record in Ireland as the
highest-grossing Irish-made independent film ever,
until surpassed by The Guard.
Storyline
In 1920, rural Ireland is the vicious battlefield of
republican rebels against the British security
forces and Irish Unionist population who oppose
them, a recipe for mutual cruelty. Medical graduate
Damien O''Donovan always gave priority to his
socialist ideals and simply helping people in need.
Just when he''s leaving Ireland to work in a highly
reputed London hospital, witnessing gross abuse of
commoners changes his mind. he returns and joins the
local IRA brigade, commanded by his brother Teddy,
and adopts the merciless logic of civil war, while
Teddy mellows by experiencing first-hand endless
suffering. When IRA leaders negotiate an autonomous
Free State under the British crown, Teddy defends
the pragmatic best possible deal at this stage.
Damien however joins the large seceding faction
which holds nothing less than a socialist republic
will do. The result is another civil war, bloodily
opposing former Irish comrades in arms, even the
brothers.
Reception
The movie became the most popular independent Irish
film ever released in Ireland, earning 377,000 in
its opening weekend and 2.7 million by August 2006.
The film got a positive reaction from film critics.
As of 5 January 2008, the review aggregator Rotten
Tomatoes reported that 88% of critics gave the film
positive reviews, based on 102 reviews. Metacritic
reported the film had an average score of 82 out of
100, based on 30 reviews.
The Daily Telegraph''s film critic described it as a
"brave, gripping drama" and said that director Loach
was "part of a noble and very English tradition of
dissent". A Times film critic said that the film
showed Loach "at his creative and inflammatory
best", and rated it as 4 out of 5. The Daily Record
of Scotland gave it a positive review (4 out of 5),
describing it as "a dramatic, thought-provoking,
gripping tale that, at the very least, encourages
audiences to question what has been passed down in
dusty history books."
Michael Sragow of The Baltimore Sun named it the 5th
best film of 2007,[20] and Stephen Hunter of The
Washington Post named it the 7th best film of 2007.
Jim Emerson, Roger Ebert''s editor, gave the film a 4
star review, calling it "breathtakingly authentic",
and declared it ranked "among the best war films
ever made."
The film was attacked by some commentators including
Simon Heffer. Following the Cannes prize
announcement, Unionist historian Ruth Dudley Edwards
wrote in the Daily Mail on 30 May 2006 that Loach''s
political viewpoint "requires the portrayal of the
British as sadists and the Irish as romantic,
idealistic resistance fighters who take to violence
only because there is no other self-respecting
course," and attacked his career in an article that
Loach criticised as inaccurate. The following week,
Edwards continued her attack in The Guardian,
admitting that her first article was written without
seeing the film (which at that stage had only been
shown at Cannes), and asserting that she would never
see it "because I can''t stand its sheer
predictability." One day after Edwards'' initial
article appeared, Tim Luckhurst of The Times called
the film a "poisonously anti-British corruption of
the history of the war of Irish independence" and
compared Loach to Nazi propagandist director Leni
Riefenstahl. Yet George Monbiot revealed on 6 June,
also in The Guardian, that the production company
had no record of Luckhurst having attended a
critics'' screening of the as-yet unreleased film,
and Luckhurst refused to comment. In a generally
positive review, the Irish historian Brian Hanley
suggested that the film might have dealt with the
IRA''s relationship with the Protestant community, as
one scene in its screenplay did.
Left-wing commentators in Ireland have long examined
the Irish War of Independence as an example of class
struggle, as well as nationalism. The film has also
revived debate on rival interpretations of Irish
history.
|
|
|
 |
|